วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558



แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร






1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
คำตอบ

        เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีในธรรมชาตินั่นเอง

        สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้


2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร

คำตอบ

        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย

        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่


3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร

คำตอบ

       เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น





4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
คำตอบ

        เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว


5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI)หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร

คำตอบ

        ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์เป็นไปในทุกด้าน ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การที่มีพัฒนาการเจริญก้าวหน้า จึงทำให้นักคอมพิวเตอร์ตั้งความหวังที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาดและสามารถตัดสินใจเพื่อช่วยทำงานของมนุษย์ได้มากขึ้น

มีส่วนประกอบดังนี้

1.ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)

2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)

3.ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)

4.ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)


6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีมีความสำคัญหรือประโยชน์อย่างไร
คำตอบ

        1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน

       2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ

       3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร

       4 ด้านการเงินการธนาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร

       5 ด้านความมั่นคงมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร

        6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ

        7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

        8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ


7.สารสนเทศที่ดีมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
คำตอบ

        ในปัจจุบันสารสนเทศมีความจำเป็นต่อหน่วยงาน สารสนเทศมีความจำเป็นต้งใช้ในการตัดสินใจบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติ 3 ด้าน คือ

        1 มีความทันสมัยหรือทันต่อเหตุการณ์ กล่าวคือสารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้ประโยชน์ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ได้ทันที

       2 มีความตรงตามเนื้อหาที่ต้องการ สารสนเทศที่ดีต้องมีคุณสมบัติในการสื่อความหมาย การใช้สารสนเทศเพื่อประโยชน์ควรตรงกับความต้องการและความจำเป็น

        3 มีความถูกต้องแม่นยำ คุณสมบัติข้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะถึงแม้สารสนเทศจะตรงตามความต้องการ และสามารถผลิตได้ทันเวลาแต่ถ้าขาดความถูกต้องแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย



8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

คำตอบ

       การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น


9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน

คำตอบ

       ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษา หรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น การถ่ายทอดสด


10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
คำตอบ


ด้านประโยชน์


        1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน

        2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น การผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมีมาตรฐาน

        3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้น คว้าวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ

        4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กิจการด้านการ แพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก

        5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้มาก การแก้ปัญหาที่ ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว

        6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง เทคโนโลยีจำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้า ธุรกิจต่าง ๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแส เงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง

        7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่นย่อโลกให้เล็กลง

        8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของกระจายระบบ



ด้านผลเสีย

        1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม

       2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง

       3.ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น

        4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า











แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร





1.คำว่า ระบบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร

คำตอบ

        ระบบ หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยอย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ซึงกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน

       วิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือกระบวนการทำงานมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ


2.คำว่า ระบบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร

คำตอบ

        1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น

       2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำ เพื่อให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
       3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลงานของนักเรียน เป็นต้น


3.ระบบสารสนเทศหมายถึงอะไร


คำตอบ

ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์

มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง


4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร

คำตอบ

1. ฮาร์ดแวร์ 2 . ซอฟต์แวร์ 3. ข้อมูล 4. บุคลากร 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน






5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอนและสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร

คำตอบ

1. เครื่องมือในการสร้าง MIS ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และฐานข้อมูล (Database) ฮาร์ดแวร์


2. วิธีการหรือขั้นตอนการปะมวลผล


3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล


4. การแสดงผลลัพธ์ MIS จะจัดทำสารสนเทศซึ่งจะจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือองค์กร


5 . มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล เพื่อควบคุมการทำงานระบบ



6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร


คำตอบ

ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน


ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ


ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ


ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง


7.ระบบสารสนเทศระดับบุคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ

        1. ระบบสารสนเทศระดับ คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและคุ้มค่ามากขึ้น

        2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
คำตอบ

        ในปัจจุบันสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่การเมืองการปกครอง ที่สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเรียกยุคนี้ว่าเป็น ยุคสังคมสารสนเทศ หรือ Information Age Society ที่ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาประเทศ ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งทุกศาสตร์ ทุกวงการ ล้วนนำสารสนเทศเข้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ


9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ

1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม เพื่อ เตรียมไว้สำหรับการใช้งาน

2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อเรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา

3. การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้กว่า

4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ


10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้แตกต่างกัน

คำตอบ

1. จำแนกตามพื้นที่ 2. แบ่งตามความเป็นเจ้าของ







แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์



1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร

คำตอบ
        คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการเรียนรู้เพื่อทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย


2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร

คำตอบ

        คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง

คำตอบ

1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป

2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย

3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์ จอภาพ

4. สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร

คำตอบ

        ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร


5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
คำตอบ

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้

ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ ได้แก่ ส่วนประมวลผล ส่วนความจำ อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล



6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์

คำตอบ

CPU


7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม (ROM) ของของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ
แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ รอมเป็นหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน


8.จานบันทึกข้อมูล (Hard disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
คำตอบ

        จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กและเครื่องขับจาน มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรม โดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรง แต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น



9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabit) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮริซ์ (GHz)
คำตอบ

เมกะไบต์ : หน่วยความจุในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับ 1 ล้านไบต์


กิกะไบต์ : หน่วยนับจำนวนไบต์ มีค่าโดยประมาณเท่ากับ 1 พันล้านไบต์


พิกเซล : หน่วยพื้นฐานของภาพ


จิกะเฮิร์ซ : เป็นหน่วยความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า เท่ากับ1 พันล้านเฮิร์ซ


10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในคอมพิวเตอร์

คำตอบ

จอภาพ : เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

แป้นพิมพ์ : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

เมาท์ : เราใช้เมาท์ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการได้โดยง่าย







แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 4 ซอฟต์แวร์ (Software)


1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
คำตอบ

        ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น


2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

คำตอบ

2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์


3.ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร

คำตอบ

        เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้จัดการกับระบบ มีหน้าที่ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์


4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร

คำตอบ

โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ


5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร

คำตอบ

ปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง


6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร

คำตอบ

        ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ เป็นการสั่งงานตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมเรียบเรียงในรูปของเลขฐานสองซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ และเสียง


7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
คำตอบ

        ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่ง ส่วนซอฟต์แวร์นั้นที่เขียนโดยชุดคำสั่งที่จะส่งงานกับคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งได้


8.ระบบปฎิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร

คำตอบ

        ซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการใช้ในการจัดการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์






แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์



1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
คำตอบ

        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันในเครือข่ายนั้น


2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์อย่างไร

คำตอบ

        มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อร่วมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

        การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน


4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
คำตอบ

ระบบนี้เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อโยงกันทั่วโลก ผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก


5.ระบบเครือข่ายร่วมปฎิบัติการ หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน


6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

คำตอบ

        3 ประเภท คือ เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ เครือข่ายแมนหรือเครอืข่ายบริเวณนครหลวง เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง


7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

คำตอบ

2 รูปแบบ คือ ส่วนของเครือข่ายเชิงกายภาพ และส่วนการจัดการ







แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 6 อินเทอร์เน็ต



1. อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

        เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง

คำตอบ

1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล


2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่


3. นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ



3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

คำตอบ

1. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร


2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ


3. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้


4. สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ


5. ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ


6. ใช้สื่อสารด้วยข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ


7. ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


8. ซื้อขายสินค้าและบริการ


4.การติดต่อโดยใช้สานโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

        อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอน็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้


5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร

คำตอบ

ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย


6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail.
คำตอบ

        บริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลล์ จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงก็ได้








แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน


1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
คำตอบ

3 ประเภท คือ อินทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต อินเทอร์เน็ต


2.อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

        เครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร


3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

คำตอบ

http://www.google.com


http://www.altavista.com


http://www.excite.com


http://www.yahoo.com


4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็ปไซต์ Google พอสังเขป
คำตอบ

        การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็แสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google ที่จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไป จำนวนเว็บเพจที่ยิ่งค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง เพราเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั่นเอง


5.Digital library หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

การจัดเก็บเอกสารสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะเก็บในรูปของสื่อพิมพ์


6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็ปไซต์ประเภทของการศึกษา

คำตอบ

http://www.school.net.th


http://www.learn.in.th










แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 8 การใช้เทคโลโลยีสารสนเทศเสนอผลงาน




1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร

คำตอบ
 
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ

1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง

คำตอบ
1. การดึงดูดความสนใจ
2. ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
3. ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร

คำตอบ

การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรืสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง


คำตอบ

เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉาย

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

คำตอบ
การนำเสนอแบบ Slide Presentation รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) Computer Assisted Instruction